top of page

หลักทั่วไปในการจับไม้แร็กเกต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             กำเนิด สุภัณวงษ์ (2537 : 10) ได้กล่าวถึงวิธีการจับไม้แร็กเกตที่นิยมกันมี 2 แบบคือ 

แบบเช็คแฮนด์ และแบบวีเชพ 

-การจับไม้แบบเช็คแฮนด์ เหมาะสำหรับการตีลูกหน้ามือ (Fore Hand) จนถึงลูกอ้อมศีรษะ (Over Head) 

-การจับไม้แบบวีเชพ เหมาะสำหรับการตีลูกหลังมือ โดยที่นิ้วหัวแม่มือจะกดอยู่ที่ สันใหญ่ของด้ามในการตีลูกหน้ามือการจับไม้แบบวีเชพไม่สามารถปรับหน้าไม้ให้ตั้งฉากกับลูกขนไก่ได้ ลูกขนไก่จะทำมุมกับหน้าไม้ประมาณ 45 องศา ซึ่งทำให้แรงที่ใช้ในการตีลูกได้ประโยชน์เพียงครึ่งเดียว และวิถีของลูกขนไก่จะไม่ตรงหรือที่เราเรียกกันว่าลูกไซด์ 

 

             ในการเริ่มฝึกหัดเล่นแบดมินตันจะเริ่มด้วยการตีลูกหน้ามือก่อน ดังนั้นควรที่จะเริ่มด้วยการจับไม้แบบเช็คแฮนด์ เมื่อฝึกหัดตีลูกหลังมือจึงสอนให้เลือกว่าจะคงรูปการจับไม้แบบเช็คแฮนด์ไว้ และช่วยในการตีลูกหลังมือโดยการปรับนิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือหรือปรับไปจับไม้แบบวีเชพใน การตีลูกหลังมือ และปรับมาจับไม้แบบเช็คแฮนด์เมื่อตีลูกหน้ามือ ซึ่งวิธีการจับไม้แร็กเกตที่ถูกต้องและนิยมมี 2 แบบคือ 

              1) การจับแบบเช็คแฮนด์ ใช้มือซ้ายจับที่คอไม้แร็กเกตก่อนวางฝ่ามือขวาลงบนด้ามไม้แร็กเกต แล้วจึงค่อยๆ ลากมือลงมาเรื่อย ๆ จนนิ้วก้อยหยุดที่ปลายด้ามแล้วกำทั้ง 4 นิ้วรอบ ๆ ด้ามไม้แร็กเกตส่วนนิ้วหัวแม่มือจะอยู่ทางด้านแบนอีกด้านหนึ่งของไม้แร็กเกตคล้ายการสัมผัสมือ 

             2) การจับแบบวีเชพ ธนะรัตน์ หงส์เจริญ (2537 : 43) ได้อธิบายวิธีการจับไม้แร็กเกตแบบวีเชพไว้ว่า ยกมือข้างที่ถนัดขึ้นมาแล้วกางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ออก เป็นรูปตัววีแล้วสอดด้ามไม้แร็กเกตเข้าไปในช่องรูปตัววีใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้คีบทางด้านแบนของด้ามไม้แร็กเกตไว้ เมื่อจับถูกต้องหัวไม้แร็กเกตด้านที่เป็นสันจะอยู่ตรงกลางร่องตัววีพอดี จากนั้นนิ้วที่เหลือทั้ง 3 นิ้ว กำด้ามไม้แร็กเกตเข้ามาโดยกำให้สุดด้าม ปลายด้ามจะอยู่ในอุ้งมือ ใช้นิ้วชี้ล็อกทางส่วนโค้งของ ด้ามไม้แร็กเกตเอาไว้ เมื่อจับด้ามไม้แร็กเกตเรียบร้อยสังเกตจะเห็นว่านิ้วชี้ไม่ติดกับนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยที่เรียงติดกันเป็นมุม 45 องศา ส่วนนิ้วหัวแม่มือจะวางทาบอยู่ด้านแบนของด้ามไม้แร็กเกต 

 

               ธนะรัตน์ หงส์เจริญ (2537 : 44) ได้เสนอแนะหลักทั่วไปในการจับไม้แร็กเกต ดังต่อไปนี้ 

              1)ไม่จับไม้แร็กเกตจนแน่นเกินไปกระชับมือเพียงให้อยู่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดในการตีหากจับไม้แร็กเกตแน่นจนเกินไปจะทำให้เกิดอาการเกร็งในส่วนของแขนและไม่สามารถตี และบังคับลูกขนไก่ไปยังเป้าหมายด้วยการใช้นิ้วและข้อมือได้ถนัดกลายเป็นการใช้แขน มากกว่าเพราะหลักการเล่นแบดมินตันต้องใช้นิ้วมือและข้อมือในการตีลูกขนไก่บังคับไปยังเป้าหมายด้วยความรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจะทำได้ดีและง่ายกว่าการใช้แขน 

              2)เมื่อจับด้ามไม้แร็กเกตไว้อย่างถูกต้องแล้วสามารถที่จะใช้ไม้แร็กเกตนั้นได้เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของแขน 

 

              อย่างไรก็ตามควรได้ทราบถึงวิธีการจับไม้แร็กเกตที่ไม่ถูกต้องไว้ด้วยเพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบที่พบเห็นมีอยู่ 2 วิธีคือ

            - การจับไม้แร็กเกตแบบหน้าเดียว ซึ่งข้อแตกต่างของการจับไม้แร็กเกตแบบนี้กับการจับแบบวีเชพ คือนิ้วหัวแม่มือจับอยู่ตรงสันทำให้ไม่สามารถตีลูกขนไก่ได้ทั้ง 2 หน้า คงตีได้เพียงหน้าเดียวเฉพาะหน้ามือเท่านั้นส่วนด้านหลังมือไม่สามารถตีได้เลย 

            - การจับไม้แร็กเกตแบบรวมนิ้วหรือแบบกำค้อน คือการจับไม้แร็กเกตแบบนี้จะใช้นิ้วทั้งห้าจับที่บริเวณด้ามไม้แร็กเกตในลักษณะที่กำแน่นรวมนิ้วทั้งห้าติดกัน ทำให้ไม่สามารถใช้นิ้วและข้อมือในการตีลูกขนไก่อย่างถูกต้องตามหลักการของกีฬาแบดมินตัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                            https://www.youtube.com/watch?v=iWV2fQfp2TU

 

bottom of page